ถามตอบหน่วยที่ 1

1. ระบบปฏิบัติการคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
          ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่ถูกสร้างโดยซอฟต์แวร์หรือเฟริมแวร์ (Firmware คือ โปรแกรมที่ประกอบด้วยไมโครโค้ดโปรแกรม ซึ่งเก็บอยู่ในหน่วยความจำ Rom และ Prom) หรือทั้งซอฟต์แวร์และเฟิร์มแวร์ เพื่อให้ฮาร์ดแวร์สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบและมีความถูกต้องแม่นยำ
2. หน้าที่ของระบบปฏิบัติการแบ่งออกเป็นกี่ชนิด แต่ละชนิดประกอบด้วยอะไรบ้าง
    หน้าที่ของระบบปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
    หน้าที่หลัก คือ จัดการทรัพยากรต่างๆภายในระบบ
    หน้าที่รอง  ประกอบด้วย
    1. เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้ (User Interface) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ได้ ซึ่งการติดต่อระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้อาจอยู่ในรูปของตัวอักษรหรือรูปภาพ
    2. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ฮาร์ดแวร์ร่วมกันได้ ในองค์กรส่วนใหญ่จะมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์มากกว่า 1 คนขึ้นไปและจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกัน เช่น เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์เก็บข้อมูล เป็นต้น
    3. ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน ระบบปฏิบัติการจะอนุญาตให้ผู้ใช้แต่ละคนมีสิทธิ์ใช้ข้อมูลนั้นๆและช่วยจัดคิวของผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ
    4. แก้ไขปัญหาการทำงานของระบบ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์บางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดในขณะที่ทำงานอยู่ ระบบปฏิบัติการจะทำการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพอยู่เสมอ
    5. ช่วยให้หน่วยอินพุต-เอาต์พุตทำงานได้คล่องตัว ในการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อินพุตต่างๆต้องอาศัยระบบปฏิบัติการเพื่อให้ระบบต่างๆทำงานได้ถูกต้องและสอดคล้องกัน
    6. คำนวณทรัพยากรที่ใช้ไป ในการใช้งานคอมพิวเตอร์นั้นเราต้องใช้ทรัพยากรต่างๆที่จำเป็นต่อระบบปฏิบัติการจะช่วยคำนวณทรัพยากรที่ได้ใช้ไปแล้ว เพื่อให้ผู้ใช้ใช้ทรัพยากรต่างๆได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
    7. ช่วยให้ระบบทำงานเป็นแบบขนาน ระบบปฏิบัติการจะแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ เรียกว่า โปรเซส ซึ่งจะทำให้การทำงานเสร็จเร็วยิ่งขึ้น
    8. จัดการโครงสร้างข้อมูลที่จัดเก็บไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อข้อมูล และมีการเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็ว
    9. ควบคุมการติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย เนื่องจากในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีการรับส่งข้อมูลต่างๆระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบ ซึ่งการติดต่อสื่อสารต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นต้อง

3. ระบบปฏิบัติการมีหลักการทำงานอย่างไร
    ระบบปฏิบัติการคือการจัดการโปรแกรมต่างๆที่กำลังทำงานให้มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมต่างๆที่กำลังทำงานอยู่นั้น เรียกว่า โปรเซส

4. ระบบปฏิบัติการมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
    ระบบปฏิบัติการประกอบด้วย 2 ส่วน
    เคอร์เนล (Kernel) หมายถึง ส่วนกลางของระบบปฏิบัติการ ซึ่งเป็นส่วนแรกที่ถูกเรียกมาใช้งาน และจะฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำหลักของระบบ ดังนั้น เคอร์เนลจึงต้องมีขนาดเล็ก โดยเคอร์เนลจะมีหน้าที่ในการติดต่อและควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ และโปรแกรมใช้งาน
    โปรแกรมระบบ (System programs) คือส่วนของโปรแกรมการทำงานของระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้ และผู้จัดการระบบ เช่น Administrator
  
 5. ระบบปฏิบัติการแบ่งได้เป็นกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร
    ระบบปฏิบัติการสามารถแยกเป็นชนิดต่างๆได้ดังนี้
    แบบหลายผู้ใช้ (Mulit-User) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป สามารถเรียกใช้งานโปรแกรมได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นระบบระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์
    แบบมัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) หมายถึง ระบบปฏิบัติการซึ่งสามารถใช้ CPU มากกว่า 1 ตัวในการประมวลผล หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบปฏิบัติการที่มีการประมวลผลแบบขนาน
    แบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ใช้งานโปรแกรมได้ มากกว่า 1 โปรแกรมในเวลาเดียวกัน โดยระบบปฏิบัติการแบบมัลติทาสกิ้งจะทำการแบ่งเวลาการใช้งาน CPU ของโปรแกรมแต่ละตัว ทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมได้พร้อมกัน
    แบบมัลติทรีดดิ้ง (Multithreading) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่อนุญาตให้ส่วนต่างๆ ภายในโปรแกรมเดียวกันสามารถทำงานได้พร้อมกัน
    แบบเวลาจริง (Real time) หมายถึง ระบบปฏิบัติการที่ตอบสนองต่ออินพุตแบบทันทีทันใด จะเป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะงาน

    ในบางครั้งความหมายของมัลติโปรเซสซิ่งก็อาจหมายถึง ระบบปฏิบัติการที่เป็นแบบมัลติทาสกิ้งก็ได้ แต่จะแตกต่างกันที่แบบมัลติทาสกิ้งจะเป็นการใช้โปรแกรมบนระบบที่มี CPU เพียงตัวเดียวเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น